วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์และโทษจากการรับประทานของหวาน







ประโยชน์จากการรับประทานของหวาน


  1. ให้พลังงานสูง น้ำตาลให้สารคาร์โบไฮเดรต ที่ให้พลังงานสูง (4 กิโลแคลลอรี่ ต่อ 1 กรัม) และถ้าบริโภคมากเกินจะไปสะสมเป็นไขมัน เพื่อเป็นพลังงานให้เราเวลาขาดแคลนได้
  2. แก้โรคท้องร่วงได้ ใช้น้ำตาลผสมกับเกลือ สามารถช่วยให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟูดีขึ้น ทำให้มีกำลังวังชา มากขึ้น
  3. อาหารมีรสชาดกลมกล่อม น้ำตาลเป็นเครื่องเทศหนึ่งที่ทำให้อาหารมีรสชาดกลมกล่อม สังเกตได้ว่าพ่อค้าแม่ค้ามักผสมน้ำตาลในกับข้าวหลากหลายชนิด ทำให้อาหารมีรสชาดดีขึ้นอร่อยขึ้น

โทษจากการรับประทานของหวาน







  1. โรคอ้วน เป็นผลมาจากการได้รับพลังงานจากน้ำตาลมากเกินไป
  2. เบาหวานเมื่อได้รับน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายก็จะหลั่งสารอินซูลินมากขึ้น เพื่อกำจัดน้ำตาล เมื่อบริโภคน้ำตาลเกินเป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายก็จะเกิดการดื้ออินซูลิน ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้
  3. โรคความดัน ซึ่งจะเกิดควบคู่กับเบาหวาน

     แต่บางคนเป็นโรคเบาหวานกลัวความหวานไปเลย ถึงขนาดไม่กินผลไม้ไปด้วย ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่าในผลไม้ก็มี วิตามิน และ แร่ธาตุ ที่สำคัญ ถ้ากังวลมาก อาจเลือกผลไม้ที่มีความหวานน้อยหน่อยก็ได้
ข้อมูลจาก THE AMERICAN HEART ASSOCIATION (AHA) ประเทศอเมริกาAHA แนะนำว่า


สำหรับผู้หญิง บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 25 กรัม (6 ช้อนชา) ใน 1 วัน
สำหรับผู้ชาย บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 37.5 กรัม (9 ช้อนชา) ใน 1 วัน

         ในเครื่องดื่ม,ขนมหรืออาหารที่วางขายในซุปเปอร์มาเก็ตแต่ละชนิดจะมีฉลากซึ่งระบุ ปริมาณของส่วนผสมต่างๆ รวมถึงน้ำตาลด้วย เราใช้ฉลากนี้ในการพิจารณาว่าอาหารนี้เหมาะสมกับเราหรือไม่
ตรวจสอบจากตารางโดยประมาณ
ตรวจสอบน้ำตาลจากอาหาร



  • น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา น้ำหนักประมาณ 4 กรัม
  • น้ำตาลทราย 1 ช้อนกินข้าว น้ำหนักประมาณ 12 กรัม



                 


  • น้ำเชื่อม 1 ช้อนกินข้าว มีน้ำตาลทราย  12 กรัม



                                   

  • น้ำอัดลม 1 กระป๋อง (325 ซีซี.) มีน้ำตาลทราย 60 กรัม





  • กาแฟเย็น/ชาเย็น ( 480 ซีซี.) มีน้ำตาลทราย  28 กรัม






  • ขนมหวาน 1 ชิ้น ขนาด 5x5x4 ซม มีน้ำตาลทราย 12 กรัม







  • ขนมหวาน 1 ถ้วยแบบไม่มีกะทิ (150 กรัม) มีน้ำตาลทราย 15 กรัม





  • ขนมหวาน 1 ถ้วย แบบมีกะทิ(150 กรัม) มีน้ำตาลทราย 24 กรัม     





    ในอาหารการกินประจำวันจะมีปริมาณของน้ำตาลที่ได้รับจากการกินข้าวหรือแป้ง (ข้าวหรือแป้งจะถูกย่อยสลายกลายเป็นน้ำตาล)  และน้ำตาลจะให้แต่ พลังงานอย่างเดียว โดยไม่มีวิตามินหรือสารอาหารอื่นๆ เลย เมื่อได้รับพลังงานจากน้ำตาลเข้าไปเป็นจำนวนมากๆ จึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่นๆ ตามมา

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล


        หลายคนคงอยากกินหวาน แต่ไม่อยากได้พลังงานมากขนาดนั้น ปัจจุบันนี้จึงมีทางเลือกใหม่ๆ ที่ไม่ต้องใช้น้ำตาล แต่เป็นการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น ฟินิลคีโตนูเรีย ขัณฑสกร แอสปาเทม









ประเทศไทยเรานั้นมีอาหารรวมทั้ง ขนมหวานมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และอื่นๆอีกมากมาย และในขนมแทบทุกชนิดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อให้ความหวานชื่นใจกับผู้บริโภค แต่เรารู้กันบ้างหรือเปล่า ว่าความหวานช่วยให้ประโยชน์อะไรกับเรา และถ้ากินหวานมากเกินไปจะเป็นผลร้ายอะไรกับเราบ้างหรือเปล่า